กกพ.ปิดประตูลดค่าไฟ ต้องรอรัฐบาลใหม่เท่านั้น
กกพ.ตอบกลับเอกชน ปิดประตูลดค่าไฟฟ้าปีนี้ ชี้หากจะลดได้ต้องรอให้รัฐบาลใหม่หาเงินเข้ามาอุดหนุน หากต้องการค่าไฟ 4.25 บาท หรือลดลงอีก 20 สต. ต้องใช้เงินอุดหนุน 15,000 ล้านบาท ย้ำต้นทุนก๊าซแพง น้ำในเขื่อนน้อย แย้มค่าไฟปีหน้าจะแพงขึ้นอีก
หลังจากภาคเอกชนอย่าง กกร.ได้ออกมากระทุ้งใหัเร่งจัดตั้งรัฐบาลใหม่โดยเร็ว เพื่อสางปัญหาราคาพลังงานโดยเฉพาะค่าไฟฟ้างวดเดือน กันยายน ถึง ธันวาคม 2566 ซึ่งทาง กกพ. มีมติเห็นชอบค่าเอฟทีเรียกเก็บที่ 66.89 สตางค์ต่อหน่วย (ไม่รวมภาษีมูลค่าเพิ่ม)
ทำให้ค่าไฟฟ้าเฉลี่ยลดลงจาก 4.70 บาท มาเป็น 4.45 บาทต่อหน่วย โดยให้มีผลตั้งแต่รอบบิลเดือนกันยายน อย่างไรก็ตามภาคเอกชนยังมองว่า ค่าไฟฟ้ายังสามารถลดลงได้มากกว่านี้ หรือควรจะอยู่ที่ 4.20 บาท
กฟภ.เคลียร์เจ้าของโรงแรมเกาะสมุย หลักผิดพลาดเรียกเก็บค่าไฟ 11 ล้านบาท
ลดค่าไฟฟ้ามีผลรอบบิลเดือน ก.ย. 66
กกร.ยื่นนายกฯ เสนอ 2 แนวทาง ลดค่าไฟฟ้า Ft เดือน ก.ย.-ธ.ค. 66
ล่าสุด นายคมกฤช ตันตระวาณิชย์ เลขาธิการสำนักงานคณะกรรมการกำกับกิจการพลังงาน ในฐานะโฆษก กกพ. อธิบายกับผู้สื่อข่าวว่าการปรับลดค่าไฟฟ้าในช่วงงวดสุดท้ายของปีนี้เป็นเรื่องที่ค่อนข้างยาก หรือแทบจะเป็นไปไม่ได้ เนื่องจากต้องมีกระบวนการคำนวณสูตรค่าไฟฟ้าใหม่ ต้องมีการเปิดรับฟังความคิดเห็น รวมถึงการพิจารณาต้นทุนที่เกี่ยวข้องทั้งของทาง ปตทคำพูดจาก สล็อตเว็บตรง. และ กฟผ.
ส่วนข้อเสนอของภาคเอกชนที่ต้องการให้ปรับลดอัตราค่าไฟฟ้าลงมาเป็น 4.25 บาท โฆษก กกพ. บอกว่า ต้องให้เป็นเรื่องของรัฐบาลใหม่เข้ามาเข้ามาดูแล โดยเฉพาะหนี้ที่ติดค้างกับทาง กฟผ.ซึ่งหน่วยงานอย่าง กกพ.ไม่มีงบประมาณ ทำได้แค่ดูแลตัวเลขที่เสนอเข้ามาไม่ให้เป็นภาระกับประชาชนมากเกินไปเท่านั้น เบื้องต้นหากจะลดให้ได้ตามข้อเสนอจะต้องใช้เงินงบประมาณราว 15,000 ล้านบาท หรือคิดง่ายๆ ว่าจะลดให้ได้ทุก 1 สตางค์จะใช้เงินราว 600 ล้านบาท
"ต้นทุนของค่าไฟฟ้า ก๊าซ LNG ก็กำลังจะกลับมาแพงขึ้นอยู่แล้ว ทำให้การปรับลดค่าไฟในงวดปลายปีค่อนข้างลำบาก หากจะเปลี่ยนศูนย์การคำนวณค่าไฟก็ต้องใช้กระบวนการอำนาจรัฐเข้ามาจัดการ อาจต้องเป็น กพช.หรือ ครม. แล้วยังมีกระบวนการรับฟังความคิดเห็นอาจจะใช้เวลา ต้องรอรัฐบาลใหม่เข้ามาบริหารก่อน และอีกปัจจัยคือการลดหนี้ กฟผ."
สำหรับแนวโน้มค่าไฟฟ้าในปีหน้า ยังเผชิญกับหลายปัจจัยลบ ตัวเลขต้นทุนยังคงที่คล้ายกับในปัจจุบัน มีบวกลบเพียงนิดหน่อย ทั้งราคาก๊าซธรรมชาติ ปริมาณก๊าซในอ่าวไทย กับตัว LNG ที่สำคัญคือ ก๊าซในพม่ามีโอกาสจะหายไปหรือไม่ การใช้แก๊สของโรงแยกแก๊สที่เพิ่มขึ้น กระทั่งภาวะภัยแล้ง ที่ทำให้ปริมาณน้ำในเขื่อนของสปป.ลาว ลดน้อยลง ย่อมทำให้ต้นทุนค่าไฟปรับตัวสูงขึ้น ซึ่งยังไม่ถูกนำไปคำนวณในค่าไฟฟ้ารอบปัจจุบันด้วย ทำให้อัตราค่าไฟฟ้าในปีหน้ามีโอกาสจะปรับตัวขึ้นได้อีกเช่นกัน